เมนู

ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วในที่ขาว คือในตระกูลสูง. คำที่เหลือ บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเเล.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยา ความว่า พระนิพพาน ท่านเรียกว่า
นิพเพธ. ชนทั้งหลาย ย่อมคบคือ ย่อมเข้าไปใกล้ พระนิพพานนั้น
เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า นิพเพธภาคิยา ( ส่วนแห่งการแทงตลอด). อนิจจ-
สัญญาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในหนวดห้า. ความกำหนดหมายในนิโรธา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า นิโรธสัญญา. คำเป็นต้นว่า อิเม โข อาวุโส
บัณฑิต ที่ประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระ กล่าวอยู่ซึ่ง
ปัญหา 132 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหก 22 หมวด แสดงสามัคคี-
รส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด 6

ว่าด้วยธรรมหมวด 7



พระเถระครั้นแสดง สามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา
ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดา
อริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะ
ว่า สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บำเพ็ญ จริต 3 ศีล 5 ศีล 10
ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์